วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ว่าด้วยพฤติกรรมราคา (ต่อ)
ต่อจากตอนที่แล้วที่ได้เขียนถึงพฤติกรรมราคาว่ามี 3 รูปแบบ และใน 3 รูปแบบก็เกิดขึ้นเนื่องจากมีภาวะแวดล้อมอย่างอื่นมากระทบ ทำให้เกิดความคาดหวังต่อราคาหุ้นแตกต่ากัน
ภาวะต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ และสามารถนำมาช่วยในการวางแผน และตัดสินใจในการเข้าซื้อ หรือขายแต่ละครั้ง มีอยู่หลายตัวด้วยกัน มาดูภาพรวมกันก่อน แล้วจะเจอะลึกลงไปในแต่ละตัวต่อไป
1 ราคา ซึ่งในที่นี้เราใช้รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนมาดูกัน เพราะกราฟแท่งเทียนสามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงราคา บอกถึงความแข็งแรงของแรงซื้อขาย บอกถึงความผันผวนของทิศทางของแรงซื้อขาย ช่วยให้การตัดสินใจซื้อขายได้เปรียบมากขึ้น
2 แนวโน้มราคา เป็นส่วนที่ขยายขึ้นจากแท่งราคาแท่งเดียว มาดูเป็นกลุ่มแท่งราคาที่ส่งกำลังไปในทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นแนวโน้มขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ช่วยในการวางแผน และเลือกกลยุทธ์ในการซื้อขาย ให้ได้เปรียบเมื่อมีสัญญาณซื้อหรือขายในช่วงต้นแนวโน้ม กลางแนวโน้ม ปลายแนวโน้ม
3 แรงเหวี่ยงของราคา แนวโน้มราคา (Momentum) เป็นการพิจารณากำลังของราคา หรือแนวโน้มราคาในทิศทางต่าง ๆ บอกถึงความแข็งแรงของทิศทางนั้น ๆ ช่วยสนับสนุนในช่วงที่มีแรงเหวี่ยง หรือช่วยเตือนให้ระวังในช่วงที่แรงเหวี่ยงอ่อนแรง เป็นตัวที่ช่วยป้องกันความเสียหายได้ดีทีเดียว
4 ความผันผวนของทิศทางราคา หรือแนวโน้มราคา เป็นจังหวะที่ความคาดหวังต่อราคาเกิดความสับสน ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งตลาด ทำให้คนส่วนหนึ่งในตลาดต้องตัดสินใจเลือกทิศทาง บอกความแข็งแรงของการเคลื่อนไปตามทิศทางราคา หรือแนวโน้มราคา ใช้ confirm พฤติกรรมราคา และคุณภาพแนวโน้มได้
5 ปริมาณการซื้อขาย (Volume) เป็นข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นต้วแทนของความคิด ความคาดหวังของคนส่วนมาในตลาด เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาช่วย confirm ภาวะต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมราคาก็ว่าได้ ใช้สนับสนุนภาวะต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นแบบมีนัยสัมคัญมากน้อนแค่ไหน ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดน้อยลงได้
6 ความชันของทิศทางราคา บอกถึงความผันผวนของทิศทางราคา จากภาวะทางอารมณ์ของคนในตลาด ช่วยให้เราเลือกกลยุทธ์ในการซื้อขายได้ถูกต้อง
7 ช่วงแนวรับแนวต้าน เป็นช่วงราคาที่คนในตลาดยอมรับราคาไปในทางเดียวกัน ทุกครั้งที่จะพ้นช่วงราคาแนวรับแนวต้านจะต้องเกิดความขัดแย้งทางความคิด และความคาดหวังของคน จนสุดท้ายก็จะเห็นไปในทางเดียวกันอีกครั้งก็จะกำหนดทิศทางราคาไปอีกช่วงแนวรับแนวต้านอีกครั้ง ถ้าสามารถจับได้ว่าช่วงราคาที่เป็นแนวรับแนวต้านอยู่ไหนได้ก็จะได้เปรียบในการซื้อขายได้
จริง ๆ อาจมีอย่างอื่นอีกที่สามารถนำมาประกอบการพิจารณาพฤติกรรมราคาให้เราได้เปรียบในการซื้อขายอีก แต่ผมคิดไม่ออกแล้ว ไว้ศึกษาเพิ่มมากกว่านี้ เก่งกว่านี้อาจเห็นมากขึ้น
แต่เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อ่านตอนนี้คงยังไม่เข้าใจในแต่ละตัวที่เขียนถึง แต่ไม่ต้องห่วง ในแต่ละตัวจะเขียนแยกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ในตอนต่อ ๆ ไปว่าคืออะไร มีประโยชน์ยังไง ใช้ยังไง ติดตามต่อไปครับ
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
ภาวะต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบ และสามารถนำมาช่วยในการวางแผน และตัดสินใจในการเข้าซื้อ หรือขายแต่ละครั้ง มีอยู่หลายตัวด้วยกัน มาดูภาพรวมกันก่อน แล้วจะเจอะลึกลงไปในแต่ละตัวต่อไป
1 ราคา ซึ่งในที่นี้เราใช้รูปแบบกราฟราคาแท่งเทียนมาดูกัน เพราะกราฟแท่งเทียนสามารถบอกถึงการเปลี่ยนแปลงราคา บอกถึงความแข็งแรงของแรงซื้อขาย บอกถึงความผันผวนของทิศทางของแรงซื้อขาย ช่วยให้การตัดสินใจซื้อขายได้เปรียบมากขึ้น
2 แนวโน้มราคา เป็นส่วนที่ขยายขึ้นจากแท่งราคาแท่งเดียว มาดูเป็นกลุ่มแท่งราคาที่ส่งกำลังไปในทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นแนวโน้มขนาดใหญ่ขึ้น ใช้ช่วยในการวางแผน และเลือกกลยุทธ์ในการซื้อขาย ให้ได้เปรียบเมื่อมีสัญญาณซื้อหรือขายในช่วงต้นแนวโน้ม กลางแนวโน้ม ปลายแนวโน้ม
3 แรงเหวี่ยงของราคา แนวโน้มราคา (Momentum) เป็นการพิจารณากำลังของราคา หรือแนวโน้มราคาในทิศทางต่าง ๆ บอกถึงความแข็งแรงของทิศทางนั้น ๆ ช่วยสนับสนุนในช่วงที่มีแรงเหวี่ยง หรือช่วยเตือนให้ระวังในช่วงที่แรงเหวี่ยงอ่อนแรง เป็นตัวที่ช่วยป้องกันความเสียหายได้ดีทีเดียว
4 ความผันผวนของทิศทางราคา หรือแนวโน้มราคา เป็นจังหวะที่ความคาดหวังต่อราคาเกิดความสับสน ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งตลาด ทำให้คนส่วนหนึ่งในตลาดต้องตัดสินใจเลือกทิศทาง บอกความแข็งแรงของการเคลื่อนไปตามทิศทางราคา หรือแนวโน้มราคา ใช้ confirm พฤติกรรมราคา และคุณภาพแนวโน้มได้
5 ปริมาณการซื้อขาย (Volume) เป็นข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นต้วแทนของความคิด ความคาดหวังของคนส่วนมาในตลาด เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาช่วย confirm ภาวะต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมราคาก็ว่าได้ ใช้สนับสนุนภาวะต่าง ๆ ว่าเกิดขึ้นแบบมีนัยสัมคัญมากน้อนแค่ไหน ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดน้อยลงได้
6 ความชันของทิศทางราคา บอกถึงความผันผวนของทิศทางราคา จากภาวะทางอารมณ์ของคนในตลาด ช่วยให้เราเลือกกลยุทธ์ในการซื้อขายได้ถูกต้อง
7 ช่วงแนวรับแนวต้าน เป็นช่วงราคาที่คนในตลาดยอมรับราคาไปในทางเดียวกัน ทุกครั้งที่จะพ้นช่วงราคาแนวรับแนวต้านจะต้องเกิดความขัดแย้งทางความคิด และความคาดหวังของคน จนสุดท้ายก็จะเห็นไปในทางเดียวกันอีกครั้งก็จะกำหนดทิศทางราคาไปอีกช่วงแนวรับแนวต้านอีกครั้ง ถ้าสามารถจับได้ว่าช่วงราคาที่เป็นแนวรับแนวต้านอยู่ไหนได้ก็จะได้เปรียบในการซื้อขายได้
จริง ๆ อาจมีอย่างอื่นอีกที่สามารถนำมาประกอบการพิจารณาพฤติกรรมราคาให้เราได้เปรียบในการซื้อขายอีก แต่ผมคิดไม่ออกแล้ว ไว้ศึกษาเพิ่มมากกว่านี้ เก่งกว่านี้อาจเห็นมากขึ้น
แต่เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่อ่านตอนนี้คงยังไม่เข้าใจในแต่ละตัวที่เขียนถึง แต่ไม่ต้องห่วง ในแต่ละตัวจะเขียนแยกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ในตอนต่อ ๆ ไปว่าคืออะไร มีประโยชน์ยังไง ใช้ยังไง ติดตามต่อไปครับ
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ว่าด้วยพฤติกรรมราคา
การเข้ามาในตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็นลงทุนระยะยาว เก็งกำไรระยะยาว ระยะสั้น หรือเข้ามาเล่นพนันแทงขึ้นลงก็ตาม สำหรับผมแล้วผมว่าทุก ๆ รูปแบบสิ่งสำคัญที่ต้องเรียนรู้และเข้าใจคือสิ่งเดียวกัน
นั่นคือ พฤติกรรมราคาที่เป็นสิ่งสะท้อนออกมาจากความคาดหวังต่อราคาของคนหมู่มากที่เข้ามาในตลาด
บางกลุ่มดูราคาหุ้นเทียบกับข้อมูลความแข็งแกร่งของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการทำกำไร ความได้เปรียบในการทำธุรกิจ ธุรกิจอยู่ในช่วงเติบโต หรืออะไรก็แล้วแต่ เมื่อเจอธุรกิจดี ๆ แล้วก็แค่รอจังหวะซื้อเมื่อคนทั่วไปไม่สนใจ พฤติกรรมราคาก็จะมีรูปแบบของมัน
หรือจะเป็นกลุ่มเก็งกำไร แบบสนใจข้อมูลบริษัท หรือไม่สนใจก็ได้ ก็จะจับจังหวะเข้าซื้อขายตามพฤติกรรมราคาในรูปแบบต่าง ๆ เช่นกัน
โดยสรุปรวมแล้วพฤติกรรมราคาจะแสดงออกมาใน 3 รูปแบบ
1 ทะลุผ่าน คือพฤติกรรมที่ราคาทะลุผ่านแนวสังเกตุ (หรือเรียกว่าแนวต้านก็ได้นะแค่เรียกให้ต่างกะชาวบ้านโก้ ๆ ไปงั้น) เป็นการสะท้อนความคาดหวังต่อราคาทางบวก และมีคนหมู่มากคิดเหมือนกันจึง action ไปในทางเดียวกัน ภาพมา
2 พักตัว คือพฤติกรรมที่ราคากลับลงมาพักบนแนวสังเกตุ (อีกแแล้ว แต่คราวนี้เรียกว่าแนวรับก็ได้) เป็นการสะท้อนความคาดหวังต่อราคาที่เป็นไปในทางบวกเหมือนเดิม แต่มีคนส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วย อาจคิดว่าขึ้นพอแล้วขายทำกำไร หรือคิดว่ามีคนคาดหวังเยอะว่าไปต่อแน่ ๆ ก็ขายก่อนเก็บใหม่ หรือ บลา ๆ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด ราคาจะมีการพักตัว แล้วความคาดหวังทางบวกหลักก็จะกลับมาชัดเจนอีกครั้ง และดันราคาสูงขึ้นไปได้ (ใช้ภาพเดิม บังเอินมีพักตัว ดีจะได้ไม่ต้องหาใหม่)
3 กลับตัว คือพฤติกรรมที่ราคามีการมาทดสอบแนวสังเกตุแล้วไม่สามารถทะลุผ่านได้ ราคาก็จะกลับตัวไปอีกทิศทาง เป็นการสะท้อนความคาดหวังต่อราคาว่า ไม่ควรแพงไปกว่านี้แล้วคนส่วนใหญ่เห็นด้วย ราคาจึงมีการกลับตัว และเปลี่ยนทิศทางราคาไประยะเวลาหนึ่ง (ใช้ภาพเดิมไม่ได้ละ)
พฤติกรรมราคาที่แตกต่างกันย่อมเกิดกับภาวะแวดล้อมที่ต่างกันเข้ามากระทบต่อราคา เราจึงเอาภาวะแวดล้อมต่าง ๆ มาดูเพื่อช่วยในการตัดสินใจเข้าทำกำไรจากพฤติกรรมราคาต่าง ๆ ได้
ภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่ต้องศึกษา สังเกตุ เพื่อนำมาตัดสินใจมีอะไรบ้างค่อยว่ากันต่อไป
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
Mee?
พลังมาก.....ลากไป ตอน 1 ราคาเคลื่อนไหวมีกำลังด้วย
ผมเป็นคนหนึ่งที่แรก ๆ ไม่เข้าใจคำว่า Momentum เลย มันเกี่ยวกับราคาหุ้นด้วยเหรอ กร๊าฟราคามีแรงเหวี่ยงด้วยเว้ยยยย ไม่รู้ว่าจะมีใครรู้สึกเหมือนผมมั้ย
ลงเรียนเทรดหุ้นหลายคอร์ส มีพูดถึงเกือบหมด แต่ไม่เห็นมีใครมาอธิบายชัด ๆ เลยว่ามันเป็นไงหว่า มีแต่บอกว่าดู RSI ได้ นี่ไงกำลังตกแล้วมี Divergence แหม่....เข้าใจสุด ๆ
เราก็ไปดูในกร๊าฟหุ้นจริง โหหหห...เจอเพียบเลย กลับทิศบ้าง พักตัวบ้าง ไปต่อดื้อ ๆ บ้าง สรุปมันใช้ได้จริงดิ
บางสำนักบอกดู RSI ลง 30 จบรอบ เดียวมันต้องกลับมา 70 เราไปดูจริง กลับมาจริงที่ 70 แต่เมื่อไร่ไม่รู้นะ แล้วก็กลับมา 70 แต่ราคากลับมานิดเดียวก็มี sideway อีกเป็นปี ๆ ก็มี แล้วไอ่ Momentum นี่ต้องดูจริงดิ ดูทำไมว้าาา
ระบายมาพอสมควรครับ คนสอนไม่ผิดหรอกครับ ผมผิดเองที่รู้นิดหน่อยดันเอาไปใช้มั่ว ๆ กว่าจะรู้เรื่องจริง ๆ ว่าแรงเหวี่ยงมันมาจากไหน แล้วใช้ประโยชน์ยังไง ก็เสียค่าเรียนไปเยอะมากเหมือนกัน
จริง ๆ มันก็ง่าย ๆ ไอ้แรงเหวี่ยงของราคาเนี่ย มันก็คือการเปลี่ยนแปลงของราคารวมกับปริมาณการซื้อขาย ทำให้สะท้อนความคาดหวังในราคาหุ้นนั้น ๆ ออกมาว่าเป็นทิศทางไหน มีความคาดหวังมากมั้ยนั่นเอง ดูเป็นรูปคงเข้าใจกว่า
จะเห็นว่าในช่วงแรกที่การเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มขึ้น และมีปริมาณ volume ค่อนข้างสูง แสดงถึงความคาดหวังในราคาของหุ้นตัวนี้เป็นทางบวก และคาดว่าราคาต้องให้ผลตอบแทนคุ้มค่าทีเดียว
แต่ต่อ ๆ มาเมื่อราคาขึ้นไปอีก แต่ volume ไม่ได้มากเหมือนช่วงก่อน และส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาก็ไม่ได้มากขึ้นด้วย แสดงว่าแรงเหวี่ยงต่ำลง แสดงว่าความคาดหวังต่อราคาไม่ได้เพิ่มขึ้น และใกล้ถึงจุดที่ตลาดคาดหวังมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย
สิ่งที่ Momentum บอกเราจริง ๆ แล้วคือ ความแข็งแรงของแนวโน้มราคานั่นเอง จะเห็นว่าพอแรงเหวี่ยงลดลงแล้วอีกไม่นานแนวโน้มของราคาก็จะเปลี่ยนไป แต่ไม่ได้แปลว่าจะเปลี่ยนเป็นฝั่งตรงข้ามทันที ส่วนมากจะออกมาในรูป sideway ก่อน ถ้ามีแรงเหวี่ยงทางบวกกลับมาอีกทีราคาก็ยังคงไปตามแนวโน้มเดิมได้อยู่
แรงเหวี่ยงที่น้อยลงแค่บอกให้เราระวังว่าแนวโน้มราคาเดิมอาจเปลี่ยนได้ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องขาย หรือเมื่อแรงเหวี่ยงทางบวกเพิ่มขึ้นจากทางลบก็ไม่ได้บอกว่าต้องซื้อ
ในตอนต่อ ๆ ไปค่อยไปถึงการใช้ประโยชน์จากแรงเหวี่ยงของราคากัน
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
ลงเรียนเทรดหุ้นหลายคอร์ส มีพูดถึงเกือบหมด แต่ไม่เห็นมีใครมาอธิบายชัด ๆ เลยว่ามันเป็นไงหว่า มีแต่บอกว่าดู RSI ได้ นี่ไงกำลังตกแล้วมี Divergence แหม่....เข้าใจสุด ๆ
เราก็ไปดูในกร๊าฟหุ้นจริง โหหหห...เจอเพียบเลย กลับทิศบ้าง พักตัวบ้าง ไปต่อดื้อ ๆ บ้าง สรุปมันใช้ได้จริงดิ
บางสำนักบอกดู RSI ลง 30 จบรอบ เดียวมันต้องกลับมา 70 เราไปดูจริง กลับมาจริงที่ 70 แต่เมื่อไร่ไม่รู้นะ แล้วก็กลับมา 70 แต่ราคากลับมานิดเดียวก็มี sideway อีกเป็นปี ๆ ก็มี แล้วไอ่ Momentum นี่ต้องดูจริงดิ ดูทำไมว้าาา
ระบายมาพอสมควรครับ คนสอนไม่ผิดหรอกครับ ผมผิดเองที่รู้นิดหน่อยดันเอาไปใช้มั่ว ๆ กว่าจะรู้เรื่องจริง ๆ ว่าแรงเหวี่ยงมันมาจากไหน แล้วใช้ประโยชน์ยังไง ก็เสียค่าเรียนไปเยอะมากเหมือนกัน
จริง ๆ มันก็ง่าย ๆ ไอ้แรงเหวี่ยงของราคาเนี่ย มันก็คือการเปลี่ยนแปลงของราคารวมกับปริมาณการซื้อขาย ทำให้สะท้อนความคาดหวังในราคาหุ้นนั้น ๆ ออกมาว่าเป็นทิศทางไหน มีความคาดหวังมากมั้ยนั่นเอง ดูเป็นรูปคงเข้าใจกว่า
จะเห็นว่าในช่วงแรกที่การเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มขึ้น และมีปริมาณ volume ค่อนข้างสูง แสดงถึงความคาดหวังในราคาของหุ้นตัวนี้เป็นทางบวก และคาดว่าราคาต้องให้ผลตอบแทนคุ้มค่าทีเดียว
แต่ต่อ ๆ มาเมื่อราคาขึ้นไปอีก แต่ volume ไม่ได้มากเหมือนช่วงก่อน และส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาก็ไม่ได้มากขึ้นด้วย แสดงว่าแรงเหวี่ยงต่ำลง แสดงว่าความคาดหวังต่อราคาไม่ได้เพิ่มขึ้น และใกล้ถึงจุดที่ตลาดคาดหวังมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย
สิ่งที่ Momentum บอกเราจริง ๆ แล้วคือ ความแข็งแรงของแนวโน้มราคานั่นเอง จะเห็นว่าพอแรงเหวี่ยงลดลงแล้วอีกไม่นานแนวโน้มของราคาก็จะเปลี่ยนไป แต่ไม่ได้แปลว่าจะเปลี่ยนเป็นฝั่งตรงข้ามทันที ส่วนมากจะออกมาในรูป sideway ก่อน ถ้ามีแรงเหวี่ยงทางบวกกลับมาอีกทีราคาก็ยังคงไปตามแนวโน้มเดิมได้อยู่
แรงเหวี่ยงที่น้อยลงแค่บอกให้เราระวังว่าแนวโน้มราคาเดิมอาจเปลี่ยนได้ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องขาย หรือเมื่อแรงเหวี่ยงทางบวกเพิ่มขึ้นจากทางลบก็ไม่ได้บอกว่าต้องซื้อ
ในตอนต่อ ๆ ไปค่อยไปถึงการใช้ประโยชน์จากแรงเหวี่ยงของราคากัน
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เหาฉลาม....ตามกระแส ตอน 3 ใช้ประโยชน์ยังไงดี
ในตอนนี้เราจะใช้ความรู้เรื่องแนวโน้มราคามาหาประโยชน์ ในโลกปัจจุบันเราสามารถหาประโยชน์จากแนวโน้มราคาได้ทั้ง 3 ทาง แต่ในตอนนี้เขียนถึง 2 ทางคือ ขาขึ้น และ sideway ก่อน ส่วนขาลงขอเก็บไว้ก่อนเพราะต้องมีเงื่อนไขมากขึ้น
ในแนวโน้มขาขึ้นเราจะสามารถเก็บผลประโยชน์ได้ตั้งแต่เริ่มแนวโน้ม และในช่วงกลางแนวโน้ม ก่อนที่จะไปดูจุดที่จะเข้าไปหาประโยชน์ ต้องมั่นใจก่อนว่าหุ้นนั้นจะเป็นขาขึ้น
อาจต้องเริ่มต้นที่ทำความรู้จักหุ้นนั้นก่อนว่าทำอะไร ผลประกอบการเป็นยังไง มีโครงสร้างบริษัท และการดำเนินงานแข็งแรงมั้ย อยู่ในวงจรธุรกิจขาขึ้นมั้ย
ให้เกิดความมั่นใจว่า คนส่วนใหญ่ในตลาดให้ความคาดหวังเป็นบวกกับราคาหุ้นบริษัทนั้น (ในระยะยาวได้ยิ่งดี)
จากนั้นค่อยมาดูว่าราคาหุ้นนั้นอยู่ในช่วงจะเริ่มต้นแนวโน้มขาขึ้น หรืออยู่ระหว่ากลางแนวโน้มแล้ว มาดูรูปกันดีกว่า
สิ่งสำคัญยิ่งกว่าความรู้ทางเทคนิคต่างๆ คือการพิจารณาจนมั่นใจว่าความคาดหวังต่อราคาหุ้นนั้นต้องเป็นบวก เราสามารถหาประโยชน์ได้ทั้งต้นแนวโน้มราคา และกลางแนวโน้มราคาได้
การพักตัวที่ยกจุดต่ำสุดขึ้นเป็นการรับรองว่าความคาดหวังเป็นบวกยังอยู่ และแนวโน้มราคาขาขึ้นยังแข็งแรง
แนวโน้มราคาอีกรูปแบบที่เรายังพอหาประโยชน์ได้ก็คือ sideway เพราะราคาจะวิ่งในกรอบไม่ไปไหน
แต่ต้องเลือกเฉพาะหุ้นที่มีการเหวี่ยงของราคาในกรอบ sideway กว้างพอให้เราทำกำไรได้คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่จะขาดทุนด้วย
เราก็แค่อาศัยจังหวะที่ราคาสร้างฐานไม่หลุดต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม เข้าทำกำไรระยะสั้นได้ หุ้นตัวนี้มีการเหวี่ยงราคาเป็น 10 บาท ถ้าเราเข้าซื้อในจุดที่ได้เปรียบกำไรที่ได้ก็มากน่าเสี่ยงอยู่
มาถึงจุดนี้น่าจะทำกำไรจากความรู้เรื่องแนวโน้มได้กันแล้ว ในตอนต่อ ๆ ไปจะใช้เครื่องมืออื่นมาช่วยในการพิจารณาแนวโน้ม และหาจุดเข้าซื้อ และขายที่ดีกันครับ
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
Mee?
เหาฉลาม....ตามกระแส ตอน 2 แนวโน้มมีรอบนะรู้ยัง
ในตอนที่แล้วก็ได้เขียนถึงแนวโน้มราคาทั้ง 3 ทางไปแล้ว ดังนั้นแนวโน้มราคาก็จะมีการเปลี่ยนแปลงจากแนวโน้มที่ดำเนินมาระยะเวลาหนึ่ง วนไปวนมาเรื่อย ๆ ใน 3 รูปแบบ การเปลี่ยนแปลงแนวโน้มราคาทีนึงก็เรียกว่าจบรอบของแนวโน้มราคานั้น ๆ ดูเป็นรูปดีกว่าเข้าใจกว่า
แนวโน้มราคาเปลี่ยนไปมาตามภาพครับ แต่ละแนวโน้มราคาก็เกิดจากความคาดหวังของคนส่วนใหญ่ในตลาดนั่นแหละครับ (ใครไม่รู้ย้อนไปอ่านตอน 1 นะครับ) เราจะเห็นว่าแนวโน้มราคาจะไปทางเดียวกันในระยะเวลาหนึ่ง และถ้าเรามองลึกลงไปจะเห็นว่าในแต่ละแนวโน้มราคาใหญ่ยาว ๆ นั้นมีแนวโน้มเล็ก ๆ อยู่ด้วย ลองดูภาพกัน
เราดึงเอาแนวโน้มขาขึ้นใหญ่รอบในกรอบตามรูปมาขยายดูกัน
เราก็จะพบว่าในแนวโน้มใหญ่มีแนวโน้มเล็ก ในแนวโน้มเล็กยังมีเล็กลงไปอีก ดูลงไปเรื่อย ๆ ได้จนถึงแท่งเทียนแต่ละแท่งเลย การที่เรารู้ถึงรอบเล็ก ๆ เหล่านี้จะสามารถจับจังหวะทำกำไรในรอบเล็ก ๆ นี้ได้ด้วย แล้วแต่กลยุทธ์แต่ละคน
แต่อย่าลืมนะครับ แนวโน้มราคามีรอบ สุดท้ายรอบแนวโน้มราคาก็ต้องจบแล้วเปลี่ยนแนวโน้มไป เราต้องเข้าใจและติดตามบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่ด้วยว่าเมื่อรอบราคาขาขึ้นจบ เราต้องตั้ดสินใจขายหรือไม่ อาจต้องพิจารณาจากกลยุทธ์ของแต่ละคน หรืออาจพิจารณาจากผลตอบแทนในช่วงที่ราคาไม่ขึ้นให้ผลประโยชน์คุ้มค่ากับต้นทุนเวลาที่เราต้องเสียไปในการถือหุ้นนั้นหรือไม่ก็ได้
ในแต่ละรอบราคาเราก็จะสามารถหาผลประโยชน์ได้ ดูกันต่อไป
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
แนวโน้มราคาเปลี่ยนไปมาตามภาพครับ แต่ละแนวโน้มราคาก็เกิดจากความคาดหวังของคนส่วนใหญ่ในตลาดนั่นแหละครับ (ใครไม่รู้ย้อนไปอ่านตอน 1 นะครับ) เราจะเห็นว่าแนวโน้มราคาจะไปทางเดียวกันในระยะเวลาหนึ่ง และถ้าเรามองลึกลงไปจะเห็นว่าในแต่ละแนวโน้มราคาใหญ่ยาว ๆ นั้นมีแนวโน้มเล็ก ๆ อยู่ด้วย ลองดูภาพกัน
เราดึงเอาแนวโน้มขาขึ้นใหญ่รอบในกรอบตามรูปมาขยายดูกัน
เราก็จะพบว่าในแนวโน้มใหญ่มีแนวโน้มเล็ก ในแนวโน้มเล็กยังมีเล็กลงไปอีก ดูลงไปเรื่อย ๆ ได้จนถึงแท่งเทียนแต่ละแท่งเลย การที่เรารู้ถึงรอบเล็ก ๆ เหล่านี้จะสามารถจับจังหวะทำกำไรในรอบเล็ก ๆ นี้ได้ด้วย แล้วแต่กลยุทธ์แต่ละคน
แต่อย่าลืมนะครับ แนวโน้มราคามีรอบ สุดท้ายรอบแนวโน้มราคาก็ต้องจบแล้วเปลี่ยนแนวโน้มไป เราต้องเข้าใจและติดตามบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่ด้วยว่าเมื่อรอบราคาขาขึ้นจบ เราต้องตั้ดสินใจขายหรือไม่ อาจต้องพิจารณาจากกลยุทธ์ของแต่ละคน หรืออาจพิจารณาจากผลตอบแทนในช่วงที่ราคาไม่ขึ้นให้ผลประโยชน์คุ้มค่ากับต้นทุนเวลาที่เราต้องเสียไปในการถือหุ้นนั้นหรือไม่ก็ได้
ในแต่ละรอบราคาเราก็จะสามารถหาผลประโยชน์ได้ ดูกันต่อไป
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
เหาฉลาม....ตามกระแส ตอน 1 แนวโน้ม 3 ทาง
"Let Profit Run" เชื่อว่าใครที่เข้ามาศึกษาเรื่องหุ้นไม่ว่าจะเป็นการลงทุนยาว ๆ หรือเทรดเป็นรอบ ๆ หรือเล่นสั้น ๆ ก็ต้องเคยได้ยินกัน
แต่หลาย ๆ คนก็คงทำไม่ได้ อาจเพราะหลายสาเหตุ เช่น เข้าผิดที่ (เข้าบนดอยอากาศดี) Profit ไม่ Run หรือ ราคาขึ้นกลัวตก ราคาตกกลัวตกอีก
ตัวผมเองอ่านจากหนังสือต่าง ๆ ฟังจากเซียนพูด ใช้ Indicator มากมายมาช่วยก็ทำไม่ได้ซักที เพราะก่อนนี้ไม่เข้าใจเรื่องนี้ครับ ราคาจะมีแนวโน้มเป็นทางใดทางหนึ่งระยะเวลาหนึ่งก็จะเปลี่ยนแนวโน้ม อาจเกิดเพราะการเกร็งกำไร หรือบริษัทเกิดปัญหาก็แล้วแต่
ตามหลักการความรู้ที่เผยแพร่ทั่วไปก็บอกกันอยู่แล้วว่า แนวโน้มราคามีอยู่ 3 ทาง
1 แนวโน้มขาขึ้น
พฤติกรรมราคาของแนวโน้มขาขึ้นเกิดจากความคาดหวังในราคาหุ้นตัวนั้น ๆ เป็นบวก อาจเกิดได้หลาย สาเหตุ เช่น ธุรกิจอยู่ในขาขึ้น มีเหตุการณ์ส่งเสริม เป็นนวตกรรมใหม่ หรือมีเสี่ยมาซื้อหุ้นปริมาณมาก ๆ ก็ทำให้ราคาเป็นแนวโน้มได้
จะเห็นว่าแนวโน้มราคาเกิดจากความคาดหวังคนหมู่มากในตลาด ราคาจะสูงขึ้นไป มีการพักตัวที่จุดสูงกว่าจุดต่อสุดเดิม แบบนี้ไปเรื่อย ๆ
2 แนวโน้มขาลง
ง่าย ๆ ตรงข้ามกะขาขึ้น จบ
อารมณ์คนส่วนมากก็เป็นตามนี้ ความคาดหวังคนส่วนมากเห็นว่าราคาเก่าแพง ก็จะมีคนขายทำกำไร หรืออาจคาดว่าหุ้นตัวนี้ไม่โตแล้วก็ขายเหมือนกัน ราคาก็ลง แต่ดันมีคนคิดว่าราคาลงมันถูกราคาเลยพักตัว คนมีกำไรอยู่ก็เห็นโอกาสดีราคาขึ้นมาให้ขายก็ขายต่อ จุดพักตัวของขาลงราคาเลยขึ้นไม่เกินจุดสูงสุดเดิมไปเรื่อย ๆ
3 แนวโน้มไม่ขึ้นไม่ลง (Sideway)
จะเกิดเมื่อหุ้นนั้น ๆ ยังไม่มีความคาดหวังที่ชัดเจนจากคนในตลาด อาจเพราะมีความไม่แน่นอนของการ ประกอบกิจการ หรือธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่โดดเด่นไม่น่าจะมีการเติบโตที่ชัดเจน ทำให้คนใน ตลาดหมดความสนใจไป ราคาเลยวิ่งอยู่ในกรอบราคาเดิม
อารมณ์คนในตลาดก็จะเบื่อ ๆ ไม่ให้ความสนใจ แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มที่อาศัยจังหวะนี้เก็บกำไรในรอบที่เล็กลงไปได้เหมือนกัน ราคาเลยวิ่งเหวี่ยงขึ้นลงอยู่ในกรอบราคา
ขอจบก่อนเดี๋ยวยาวไป แล้วค่อยดูต่อไปว่าแนวโน้มราคามีรอบยังไง และจะใช้ประโยชน์ยังไงต่อไป
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
แต่หลาย ๆ คนก็คงทำไม่ได้ อาจเพราะหลายสาเหตุ เช่น เข้าผิดที่ (เข้าบนดอยอากาศดี) Profit ไม่ Run หรือ ราคาขึ้นกลัวตก ราคาตกกลัวตกอีก
ตัวผมเองอ่านจากหนังสือต่าง ๆ ฟังจากเซียนพูด ใช้ Indicator มากมายมาช่วยก็ทำไม่ได้ซักที เพราะก่อนนี้ไม่เข้าใจเรื่องนี้ครับ ราคาจะมีแนวโน้มเป็นทางใดทางหนึ่งระยะเวลาหนึ่งก็จะเปลี่ยนแนวโน้ม อาจเกิดเพราะการเกร็งกำไร หรือบริษัทเกิดปัญหาก็แล้วแต่
ตามหลักการความรู้ที่เผยแพร่ทั่วไปก็บอกกันอยู่แล้วว่า แนวโน้มราคามีอยู่ 3 ทาง
1 แนวโน้มขาขึ้น
พฤติกรรมราคาของแนวโน้มขาขึ้นเกิดจากความคาดหวังในราคาหุ้นตัวนั้น ๆ เป็นบวก อาจเกิดได้หลาย สาเหตุ เช่น ธุรกิจอยู่ในขาขึ้น มีเหตุการณ์ส่งเสริม เป็นนวตกรรมใหม่ หรือมีเสี่ยมาซื้อหุ้นปริมาณมาก ๆ ก็ทำให้ราคาเป็นแนวโน้มได้
จะเห็นว่าแนวโน้มราคาเกิดจากความคาดหวังคนหมู่มากในตลาด ราคาจะสูงขึ้นไป มีการพักตัวที่จุดสูงกว่าจุดต่อสุดเดิม แบบนี้ไปเรื่อย ๆ
2 แนวโน้มขาลง
ง่าย ๆ ตรงข้ามกะขาขึ้น จบ
อารมณ์คนส่วนมากก็เป็นตามนี้ ความคาดหวังคนส่วนมากเห็นว่าราคาเก่าแพง ก็จะมีคนขายทำกำไร หรืออาจคาดว่าหุ้นตัวนี้ไม่โตแล้วก็ขายเหมือนกัน ราคาก็ลง แต่ดันมีคนคิดว่าราคาลงมันถูกราคาเลยพักตัว คนมีกำไรอยู่ก็เห็นโอกาสดีราคาขึ้นมาให้ขายก็ขายต่อ จุดพักตัวของขาลงราคาเลยขึ้นไม่เกินจุดสูงสุดเดิมไปเรื่อย ๆ
3 แนวโน้มไม่ขึ้นไม่ลง (Sideway)
จะเกิดเมื่อหุ้นนั้น ๆ ยังไม่มีความคาดหวังที่ชัดเจนจากคนในตลาด อาจเพราะมีความไม่แน่นอนของการ ประกอบกิจการ หรือธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่โดดเด่นไม่น่าจะมีการเติบโตที่ชัดเจน ทำให้คนใน ตลาดหมดความสนใจไป ราคาเลยวิ่งอยู่ในกรอบราคาเดิม
ขอจบก่อนเดี๋ยวยาวไป แล้วค่อยดูต่อไปว่าแนวโน้มราคามีรอบยังไง และจะใช้ประโยชน์ยังไงต่อไป
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
Diary - System - หุ้น
Trading System
ตลาด SET
สินค้า หุ้น
ขั้นตอนการเทรด
Watch list : แบ่งเป็นหุ้น 3 กลุ่ม
1 กลุ่มทำกิจการผูกขาด หรือกิจการขนาดใหญ่ที่สร้างผลกระทบรระดับประเทศ
2 กลุ่มที่มี Event ระยะยาว จะพิจารณาจาก 3 เรื่อง
1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลก เหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก
2 Mega trend จาก นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือธุรกิจแห่งอนาคต
3 อยู่ในวัฏจักรขาขึ้นของธุรกิจ
3 กลุ่มที่มี Event ระยะสั้น เกิด Panic buy หรือ Panic sale และกลุ่มหุ้นตัวเล็ก
กลยุทธ์ : กลุ่ม 1
เทรดรอบใหญ่ จะรอเก็บตอนราคาลงมาก ๆ และเข้าซื้อเรื่อย ๆ ในจังหวะที่ราคาพักตัว
กร๊าฟ Timeframe Month
กลุ่ม 2
เทรดเป็นโซนเมื่อราคา Breakout จากกรอบราคาที่ Sideway มาระยะเวลาหนึ่ง
กร๊าฟ Timeframe Day
กลุ่ม 3
เทรดอาศัยจังหวะ Panic buy เมื่อราคา Breakout ด้วยข่าว หรือเหตุการณ์ที่สนับสนุนให้ตลาด เกิดความคาดหวังระยะสั้น ราคาหลุด Stoploss หรือ Trillingstop (2 Bars stop)
กร๊าฟ Timeframe 30 min - Day
เงื่อนไขการเทรด : กลุ่ม 1
ซื้อ ไม้แรก
RSI ต่ำกว่า 30
ราคาสร้างฐาน ไม่ต่ำว่า Low เดิม
ความผันผวนต่ำ
ซื้อ ไม้ 2 ถึง 4
ราคาพักตัวบนแนวรับได้ และมี Volume ส่งแบบปกติ
ความผันผวนต่ำ
ขาย
เมื่อมั่นใจว่าราคาจบรอบ
ขายเอากำไรออก คงต้นทุนไว้ นำกำไรไปลงทุนต่อในจุดที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า
กลุ่ม 2
ซื้อ ไม้แรก
สัญญาณ
ราคา Breakout Fractal ที่มีแนวโน้ม sideway มาระยะเวลาหนึ่ง
AO และ AC มากกว่า 0
The Zone เป็น Green Zone ไม่เกิน 3 แท่งราคา
ซื้อ เมื่อแท่งราคาต่อมาบวกต่อ
ซื้อ ไม้ 2 ถึง 4
เมื่อ AO ให้สัญญาณเขียวแดงเขียวแล้วแท่งราคาต่อไปเป็นบวกต่อ
ขาย
Stoploss เมื่อราคาหลุดจุดต่ำสุดของแท่งราคาก่อนหน้าจุดเข้าซื้อ หรือ หลุด Alligators 3 เส้น
Trilling stop เริ่มใช้เมื่อราคาพักตัวครั้งแรกเหนือ Alligator lip line ได้ แล้วราคาไป ต่อ จะใช้ Teeth line เป็น Trilling stop
กลุ่ม 3
ซื้อ
สัญญาณ
ราคาดันทะลุกรอบ BB หลังจาก BB มีภาวะการบีบตัวเกิดขึ้นระยะเวลาหนึ่ง
ซื้อ เมื่อแท่งราคาต่อมาบวกต่อ
ขาย
ขายเมื่อราคาหลุด safety belts 2 Bars stop
ตลาด SET
สินค้า หุ้น
ขั้นตอนการเทรด
Watch list : แบ่งเป็นหุ้น 3 กลุ่ม
1 กลุ่มทำกิจการผูกขาด หรือกิจการขนาดใหญ่ที่สร้างผลกระทบรระดับประเทศ
2 กลุ่มที่มี Event ระยะยาว จะพิจารณาจาก 3 เรื่อง
1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลก เหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก
2 Mega trend จาก นวัตกรรม เทคโนโลยี หรือธุรกิจแห่งอนาคต
3 อยู่ในวัฏจักรขาขึ้นของธุรกิจ
3 กลุ่มที่มี Event ระยะสั้น เกิด Panic buy หรือ Panic sale และกลุ่มหุ้นตัวเล็ก
กลยุทธ์ : กลุ่ม 1
เทรดรอบใหญ่ จะรอเก็บตอนราคาลงมาก ๆ และเข้าซื้อเรื่อย ๆ ในจังหวะที่ราคาพักตัว
กร๊าฟ Timeframe Month
กลุ่ม 2
เทรดเป็นโซนเมื่อราคา Breakout จากกรอบราคาที่ Sideway มาระยะเวลาหนึ่ง
กร๊าฟ Timeframe Day
กลุ่ม 3
เทรดอาศัยจังหวะ Panic buy เมื่อราคา Breakout ด้วยข่าว หรือเหตุการณ์ที่สนับสนุนให้ตลาด เกิดความคาดหวังระยะสั้น ราคาหลุด Stoploss หรือ Trillingstop (2 Bars stop)
กร๊าฟ Timeframe 30 min - Day
เงื่อนไขการเทรด : กลุ่ม 1
ซื้อ ไม้แรก
RSI ต่ำกว่า 30
ราคาสร้างฐาน ไม่ต่ำว่า Low เดิม
ความผันผวนต่ำ
ซื้อ ไม้ 2 ถึง 4
ราคาพักตัวบนแนวรับได้ และมี Volume ส่งแบบปกติ
ความผันผวนต่ำ
ขาย
เมื่อมั่นใจว่าราคาจบรอบ
ขายเอากำไรออก คงต้นทุนไว้ นำกำไรไปลงทุนต่อในจุดที่ได้ผลตอบแทนดีกว่า
กลุ่ม 2
ซื้อ ไม้แรก
สัญญาณ
ราคา Breakout Fractal ที่มีแนวโน้ม sideway มาระยะเวลาหนึ่ง
AO และ AC มากกว่า 0
The Zone เป็น Green Zone ไม่เกิน 3 แท่งราคา
ซื้อ เมื่อแท่งราคาต่อมาบวกต่อ
ซื้อ ไม้ 2 ถึง 4
เมื่อ AO ให้สัญญาณเขียวแดงเขียวแล้วแท่งราคาต่อไปเป็นบวกต่อ
ขาย
Stoploss เมื่อราคาหลุดจุดต่ำสุดของแท่งราคาก่อนหน้าจุดเข้าซื้อ หรือ หลุด Alligators 3 เส้น
Trilling stop เริ่มใช้เมื่อราคาพักตัวครั้งแรกเหนือ Alligator lip line ได้ แล้วราคาไป ต่อ จะใช้ Teeth line เป็น Trilling stop
กลุ่ม 3
ซื้อ
สัญญาณ
ราคาดันทะลุกรอบ BB หลังจาก BB มีภาวะการบีบตัวเกิดขึ้นระยะเวลาหนึ่ง
ซื้อ เมื่อแท่งราคาต่อมาบวกต่อ
ขาย
ขายเมื่อราคาหลุด safety belts 2 Bars stop
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โอ้โห.....แท่งเทียน ตอน 3.1 แท่งเทียน + volume
นำเอากราฟแท่งเทียนมาใช้กับเครื่องมืออื่นในการตัดสินใจเข้าซื้อหรือขาย
ตอนนี้จะนำ volume มาประกอบ
กราฟแท่งเทียนจะแสดงถึงแรงปะทะระหว่างแรงซื้อ และแรงขาย ดังนั้นข้อมูลตัวแรกที่ต้องนำมาประกอบเป็นหลักตลอดเวลาคือ volume การที่กราฟแท่งเทียนจะบอกพฤติกรรมของคนในตลาดได้ถูกต้องแม่นยำต้องดู volume ประกอบ
รูปแบบแรก คือกราฟแท่งเทียนบอกว่าพฤติกรรมของคนในตลาดเชื่อว่าราคาจะเดินไปทางในทางหนึ่ง ตัวเนื้อเทียนจะไปทางบวกหรือลบแบบยาว ๆ volume จะต้องส่งเข้ามามากกว่าปกติด้วย ถ้า volume ไม่ช่วยดันด้วย การไปต่อของราคาก็อาจมีแรงน้อง หรือ ไม่ไปตามทางเดิมต่อได้
แบบที่สอง กราฟราคาเกิดแท่งเทียนหางยาว ถ้ามี volume ด้วยจะทำให้ราคากลับตัวเร็ว แต่ถ้าไม่มี volume ราคามักวิ่งออกข้างและสร้างกรอบราคาขึ้น
การดูแท่งราคาหางยาวสามารถดูแบบหลาย ๆ แท่งรวมกันได้ด้วยนะ ลองเอาไปฝึกดูกันได้ครับ
สุดท้ายลองเอามาหาจุดซื้อจุดขายกันดู
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
ตอนนี้จะนำ volume มาประกอบ
กราฟแท่งเทียนจะแสดงถึงแรงปะทะระหว่างแรงซื้อ และแรงขาย ดังนั้นข้อมูลตัวแรกที่ต้องนำมาประกอบเป็นหลักตลอดเวลาคือ volume การที่กราฟแท่งเทียนจะบอกพฤติกรรมของคนในตลาดได้ถูกต้องแม่นยำต้องดู volume ประกอบ
รูปแบบแรก คือกราฟแท่งเทียนบอกว่าพฤติกรรมของคนในตลาดเชื่อว่าราคาจะเดินไปทางในทางหนึ่ง ตัวเนื้อเทียนจะไปทางบวกหรือลบแบบยาว ๆ volume จะต้องส่งเข้ามามากกว่าปกติด้วย ถ้า volume ไม่ช่วยดันด้วย การไปต่อของราคาก็อาจมีแรงน้อง หรือ ไม่ไปตามทางเดิมต่อได้
แบบที่สอง กราฟราคาเกิดแท่งเทียนหางยาว ถ้ามี volume ด้วยจะทำให้ราคากลับตัวเร็ว แต่ถ้าไม่มี volume ราคามักวิ่งออกข้างและสร้างกรอบราคาขึ้น
การดูแท่งราคาหางยาวสามารถดูแบบหลาย ๆ แท่งรวมกันได้ด้วยนะ ลองเอาไปฝึกดูกันได้ครับ
สุดท้ายลองเอามาหาจุดซื้อจุดขายกันดู
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
หาบริษัทในดวงใจ.....ตอน 1 Business Canvas Model 2
ในตอนนี้เรามาดู Business Canvas Model ต่อกันให้จบ
ในตอนที่แล้วได้เสนอข้อ 1 - 4 ไปแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำให้เราสามารถเข้าใจความแข็งแกร่งของกิจการ ที่สร้างคุณค้า การแก้ปัญหา และความเป็นเลิศ นำเสนอแก่ลูกค้าของกิจการ
ในอีก 2 ส่วนคือ ข้อ 5 - 7 บอกถึงการตลาด และ 8 - 9 บอกถึงการเงินของกิจการที่มาจากกิจกรรมดำเนินงานหลัก จะมาดูกันในตอนนี้
ในส่วนที่ 5 - 7 จะพูดถึงกิจกรรมทางการตลาด ที่จะเรียนรู้เข้าใจกลุ่มลูกค้า ให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในอนาคต
Customer Relationships : ในส่วนนี้จะเป็นวิธีการที่กิจการใช้ในการรักษาลูกค้า และขยายฐานลูกค้าใหม่จากลูกค้าเก่าของกิจการ อาจเป็นแค่วิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอยู่ตลอด การนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ที่จะเพิ่มคุณค่า หรือแแก้ปัญหาให้ลูกค้าเสมอ การจัดกิจกรรมให้ลูกค้ามีส่วนร่วม การบริการหลังการขาย การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า (อาจด้วยเครื่องมือเช่น ATM) การสร้างชุมชน (กลุ่มใน line, facebook)
Channels : ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ทั้งการให้ข้อมูล การนำส่งสินค้าหรือบริการ การที่ลูกค้าเข้าถึงกิจการ ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน business partner หรือช่องทางกระจายสินค้าผ่านหน่อยงานย่อย การใช้ช่องทาง online รวมถึงช่องทางการให้บริการหลังการขายด้วย
Customer Segments : ง่าย ๆ ก็คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของกิจการ แต่ต้องดูอย่างละเอียดด้วยว่า กิจการแก้ปัญหาให้ใคร เพิ่มคุณค่าให้ใคร พื้นที่ไหน อายุช่วงไหน นิสัยยังไง มีจุดเด่นที่ไหน อย่าลืมเรื่องเพศด้วย เอาให้ชัด ไม่มีกิจการใดสำเร็จได้ถ้าไม่รู้จักลูกค้าตัวเอง
ส่วนสุดท้าย 8 และ 9 เป็นช่องทางทำเงิน และต้นทุน จะเห็นรายรับ รายจ่าย และกำไรของกิจการว่ามีโครงสร้างยังไงบ้าง
Cost Structure : ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการสร้างรายได้ช่องทางต่าง ๆ ของกิจการ เช่น ต้นทุนขายสินค้าจากการผลิตสินค้า ต้องมีเครื่องจักร โรงงาน (ค่าเสื่อมราคา) มีแรงงาน (ค่าแรง) ค่าการตลาดต่าง ๆ ค่าขนส่ง ค่าลูกค้าสัมพันธ์ต่าง ๆ ธุรกิจประเภทอื่นก็มีต้นทุนต่างกัน ลองวิเคราะห์กันดู
Revenue Streams : ช่องทางที่สร้างรายได้ให้กับกิจการ เป็นไปได้ควรรู้ถึงสัดส่วนของรายได้ต่าง ๆ ว่าแต่ละช่องทางเป็นกี่ % หรือจะให้ดีรู้ถึงสัดส่วนกำไรจะดีที่สุด
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
ในตอนที่แล้วได้เสนอข้อ 1 - 4 ไปแล้ว เป็นข้อมูลที่ทำให้เราสามารถเข้าใจความแข็งแกร่งของกิจการ ที่สร้างคุณค้า การแก้ปัญหา และความเป็นเลิศ นำเสนอแก่ลูกค้าของกิจการ
ในอีก 2 ส่วนคือ ข้อ 5 - 7 บอกถึงการตลาด และ 8 - 9 บอกถึงการเงินของกิจการที่มาจากกิจกรรมดำเนินงานหลัก จะมาดูกันในตอนนี้
ในส่วนที่ 5 - 7 จะพูดถึงกิจกรรมทางการตลาด ที่จะเรียนรู้เข้าใจกลุ่มลูกค้า ให้เห็นแนวโน้มการเติบโตในอนาคต
Customer Relationships : ในส่วนนี้จะเป็นวิธีการที่กิจการใช้ในการรักษาลูกค้า และขยายฐานลูกค้าใหม่จากลูกค้าเก่าของกิจการ อาจเป็นแค่วิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าอยู่ตลอด การนำเสนอสินค้าและบริการใหม่ที่จะเพิ่มคุณค่า หรือแแก้ปัญหาให้ลูกค้าเสมอ การจัดกิจกรรมให้ลูกค้ามีส่วนร่วม การบริการหลังการขาย การอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า (อาจด้วยเครื่องมือเช่น ATM) การสร้างชุมชน (กลุ่มใน line, facebook)
Channels : ช่องทางการเข้าถึงลูกค้า ทั้งการให้ข้อมูล การนำส่งสินค้าหรือบริการ การที่ลูกค้าเข้าถึงกิจการ ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน business partner หรือช่องทางกระจายสินค้าผ่านหน่อยงานย่อย การใช้ช่องทาง online รวมถึงช่องทางการให้บริการหลังการขายด้วย
Customer Segments : ง่าย ๆ ก็คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของกิจการ แต่ต้องดูอย่างละเอียดด้วยว่า กิจการแก้ปัญหาให้ใคร เพิ่มคุณค่าให้ใคร พื้นที่ไหน อายุช่วงไหน นิสัยยังไง มีจุดเด่นที่ไหน อย่าลืมเรื่องเพศด้วย เอาให้ชัด ไม่มีกิจการใดสำเร็จได้ถ้าไม่รู้จักลูกค้าตัวเอง
ส่วนสุดท้าย 8 และ 9 เป็นช่องทางทำเงิน และต้นทุน จะเห็นรายรับ รายจ่าย และกำไรของกิจการว่ามีโครงสร้างยังไงบ้าง
Cost Structure : ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการสร้างรายได้ช่องทางต่าง ๆ ของกิจการ เช่น ต้นทุนขายสินค้าจากการผลิตสินค้า ต้องมีเครื่องจักร โรงงาน (ค่าเสื่อมราคา) มีแรงงาน (ค่าแรง) ค่าการตลาดต่าง ๆ ค่าขนส่ง ค่าลูกค้าสัมพันธ์ต่าง ๆ ธุรกิจประเภทอื่นก็มีต้นทุนต่างกัน ลองวิเคราะห์กันดู
Revenue Streams : ช่องทางที่สร้างรายได้ให้กับกิจการ เป็นไปได้ควรรู้ถึงสัดส่วนของรายได้ต่าง ๆ ว่าแต่ละช่องทางเป็นกี่ % หรือจะให้ดีรู้ถึงสัดส่วนกำไรจะดีที่สุด
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
หาบริษัทในดวงใจ.....ตอน 1 Business Canvas Model 1
เป็นปัญหาสำหรับคนเริ่มลงทุน ในการหาบริษัทที่ยอดเยี่ยมมาเป็นบริษัทในดวงใจ ไม่รู้ต้องเริ่มศึกษาที่ไหน ต้องดูเรื่องอะไรบ้าง วิเคราะห์ไม่เป็น บลา ๆ ๆ
แก้ปัญหาง่าย ๆ กันด้วย Model สำเร็จรูปที่มีคนคิดค้นไว้ให้ใช้กัน ไม่ต้องคิดเองและได้ผลดีด้วย
ก่อนอื่นต้องศึกษาก่อนว่าบริษัทมี Business Model เป็นยังไง เมื่อรู้และเข้าใจแล้วการวิเคราะห์เรื่องอื่นก็ง่าย ๆ
ขอเสนอ Model สำเร็จรูปชื่อ Business Canvas Model ที่ทำเป็นตารางมาให้เรากรอกรายละเอียดในหัวข้อต่าง ๆ ให้ครบเป็นพอ ตารางและเนื้อหาที่จะกรอกในแต่ละหัวข้อเป็นแบบนี้
4 ส่วนแรกเป็นการหาข้อมูลการสร้างคุณค่า และความเป็นเลิศของกิจการ ที่สร้างให้กับลูกค้า
Key Partners : คนเราทำอะไรคนเดียวก็ยากที่จะสำเร็จ บริษัทก็เหมือนกันมีความถนัดส่วนตัว และต้องมีเรื่องที่ไม่ถนัดด้วย แต่ดันสำคัญต่อการดำเนินงาน บริษัทต้องหาผู้ช่วย การร่วมมือกันก็แบ่งได้หลาย ๆ รูปแบบ อย่างการ outsource การร่วมทุน คู่ค้า (supplier, ผู้กระจายสินค้า, ลูกค้ารายใหญ่) การร่วมกันทำธุรกิจที่ส่งเสริมกัน (เช่นโรงหนังกับห้างสรรพสินค้า)
Key Activities : กิจกรรมหลักที่ทำให้กิจการอยู่รอดได้ หรืออาจหมายถึงกิจกรรมที่ทำให้กิจการสร้างคุณค่า สร้างความเป็นเลิศ เพื่อมอบคุณค่าให้กับลูกค้าของเขา เช่น กิจกรรมการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพจนเป็นจุดเด่น กิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพในการบริการลูกค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ กิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุดเร็วที่สุด
Key Resources : ทรัพยากรที่กิจการมีเพื่อทำให้เกิดกิจกรรม ที่สร้างคุณค่าและการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า อาจเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยสนับสนุนการผลิตที่มีคุณภาพ ระบบการพัฒนาบุคลากร หลักสูตร และบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อทำกิจกรรมการบริการลูกค้า แผนการตลาด ทีมการตลาดทีมีคุณภาพที่ทำการตลาดให้
Value Proposition : คือคุณค่า และการแก้ปัญหาที่นำเสนอให้ลูกค้าในตลาดที่มาจาก ทรัพยากร กิจกรรม และ business partners ของกิจการ
ตอนต่อไปเราจะมาดูส่วนที่เหลือต่อกัน (เดียวยาวไป)
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
แก้ปัญหาง่าย ๆ กันด้วย Model สำเร็จรูปที่มีคนคิดค้นไว้ให้ใช้กัน ไม่ต้องคิดเองและได้ผลดีด้วย
ก่อนอื่นต้องศึกษาก่อนว่าบริษัทมี Business Model เป็นยังไง เมื่อรู้และเข้าใจแล้วการวิเคราะห์เรื่องอื่นก็ง่าย ๆ
ขอเสนอ Model สำเร็จรูปชื่อ Business Canvas Model ที่ทำเป็นตารางมาให้เรากรอกรายละเอียดในหัวข้อต่าง ๆ ให้ครบเป็นพอ ตารางและเนื้อหาที่จะกรอกในแต่ละหัวข้อเป็นแบบนี้
4 ส่วนแรกเป็นการหาข้อมูลการสร้างคุณค่า และความเป็นเลิศของกิจการ ที่สร้างให้กับลูกค้า
Key Partners : คนเราทำอะไรคนเดียวก็ยากที่จะสำเร็จ บริษัทก็เหมือนกันมีความถนัดส่วนตัว และต้องมีเรื่องที่ไม่ถนัดด้วย แต่ดันสำคัญต่อการดำเนินงาน บริษัทต้องหาผู้ช่วย การร่วมมือกันก็แบ่งได้หลาย ๆ รูปแบบ อย่างการ outsource การร่วมทุน คู่ค้า (supplier, ผู้กระจายสินค้า, ลูกค้ารายใหญ่) การร่วมกันทำธุรกิจที่ส่งเสริมกัน (เช่นโรงหนังกับห้างสรรพสินค้า)
Key Activities : กิจกรรมหลักที่ทำให้กิจการอยู่รอดได้ หรืออาจหมายถึงกิจกรรมที่ทำให้กิจการสร้างคุณค่า สร้างความเป็นเลิศ เพื่อมอบคุณค่าให้กับลูกค้าของเขา เช่น กิจกรรมการผลิตที่มีการควบคุมคุณภาพจนเป็นจุดเด่น กิจกรรมฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพในการบริการลูกค้าสูงขึ้นเรื่อย ๆ กิจกรรมการตลาดที่เข้าถึงลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุดเร็วที่สุด
Key Resources : ทรัพยากรที่กิจการมีเพื่อทำให้เกิดกิจกรรม ที่สร้างคุณค่าและการแก้ปัญหาให้กับลูกค้า อาจเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัยสนับสนุนการผลิตที่มีคุณภาพ ระบบการพัฒนาบุคลากร หลักสูตร และบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อทำกิจกรรมการบริการลูกค้า แผนการตลาด ทีมการตลาดทีมีคุณภาพที่ทำการตลาดให้
Value Proposition : คือคุณค่า และการแก้ปัญหาที่นำเสนอให้ลูกค้าในตลาดที่มาจาก ทรัพยากร กิจกรรม และ business partners ของกิจการ
ตอนต่อไปเราจะมาดูส่วนที่เหลือต่อกัน (เดียวยาวไป)
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โอ้โห.....แท่งเทียน ตอน 2
ตอนนี้เราจะมาดูกันว่าส่วนประกอบต่าง ๆ ของแท่งเทียน บอกอะไรเราบ้าง
โดยรวมแล้วแท่งเทียนแสดงให้เห็นถึงแรงปะทะของการซื้อและการขาย ช่วยเตือนถึงความแข็งแรงของแนวโน้ม และความผันผวนของแนวโน้ม
ลักษณะของแท่งเทียนที่มีการเตือนถึงความแข็งแรงของแนวโน้มคือมีเนื้อเทียนยาวไปทางใดทางหนึ่ง
และลักษณะแท่งเทียนที่แนวโน้มหลักเดิมเริ่มเกิดความผันผวน อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใส้เทียนจะยาวกว่าเนื้อเทียนมาก ๆ (เนื้อเทียนมีขนาดไม่เกิน 25% ของ ความยาวแท่งเทียนจะค่อนข้างชัด) และตัวเนื้อเทียนอาจแสดงความไม่สมดุลไปทางใดทางหนึ่งของแท่งเทียนก็ได้
ลองมาดูภาพจริงกันว่าเราจะใช้ประโยชน์ได้ยังไง
สังเกตุดูแล้วเมื่อเกิดแท่งเทียนที่แสดงถึงความแข็งแรงของแนวโน้มราคาราคามักเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มเดิมพักหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นจะเกิดแท่งเทียนที่มีความผันผวนของราคาเกิดขึ้นเพราะพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่งที่ได้กำไร หรือไม่ยอมรับราคาที่แพงเกินกว่านั้นจะหยุดซื้อหรือขายออกทำกำไร
เมื่อเกิดแท่งเทียนที่มีความผันผวนของแรงปะทะในการซื้อขายแล้วราคาจึงมักจะสร้างกรอบขึ้น ราคาจะไม่ไปไหนอยู่พักหนึ่งแล้วจึงมีการเลือกข้างอีกครั้งเมื่อแรงซื้อหรือขายข้างใดข้างหนึ่งชนะ และเกิดแท่งเทียนที่บอกถึงแนวโน้มราคาอีกครั้ง
กร๊าฟแท่งเทียนจึงนำมาช่วยตัดสินใจในการซื้อขายได้ แต่ใช้เพียงแค่แท่งเทียนแท่งเดียวมาตัดสินจุดเข้าซื้อ หรือขายคงอันตรายเกินไป ตามภาพการตัดสินใจควรดูพฤติกรรมของคนหมู่มากในตลาดให้ชัดแล้วตามไปน่าจะปลอดภัยกว่า
ครั้งหน้าจะใช้กร๊าฟแท่งเทียน และเครื่องมือทางเทคนิคอื่นมาช่วยทำให้การเข้าซื้อหรือขายเกิดความมั่นใจมากขึ้น
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
ลักษณะของแท่งเทียนที่มีการเตือนถึงความแข็งแรงของแนวโน้มคือมีเนื้อเทียนยาวไปทางใดทางหนึ่ง
และลักษณะแท่งเทียนที่แนวโน้มหลักเดิมเริ่มเกิดความผันผวน อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนใส้เทียนจะยาวกว่าเนื้อเทียนมาก ๆ (เนื้อเทียนมีขนาดไม่เกิน 25% ของ ความยาวแท่งเทียนจะค่อนข้างชัด) และตัวเนื้อเทียนอาจแสดงความไม่สมดุลไปทางใดทางหนึ่งของแท่งเทียนก็ได้
ลองมาดูภาพจริงกันว่าเราจะใช้ประโยชน์ได้ยังไง
สังเกตุดูแล้วเมื่อเกิดแท่งเทียนที่แสดงถึงความแข็งแรงของแนวโน้มราคาราคามักเคลื่อนไหวไปตามแนวโน้มเดิมพักหนึ่ง แล้วหลังจากนั้นจะเกิดแท่งเทียนที่มีความผันผวนของราคาเกิดขึ้นเพราะพฤติกรรมของคนจำนวนหนึ่งที่ได้กำไร หรือไม่ยอมรับราคาที่แพงเกินกว่านั้นจะหยุดซื้อหรือขายออกทำกำไร
เมื่อเกิดแท่งเทียนที่มีความผันผวนของแรงปะทะในการซื้อขายแล้วราคาจึงมักจะสร้างกรอบขึ้น ราคาจะไม่ไปไหนอยู่พักหนึ่งแล้วจึงมีการเลือกข้างอีกครั้งเมื่อแรงซื้อหรือขายข้างใดข้างหนึ่งชนะ และเกิดแท่งเทียนที่บอกถึงแนวโน้มราคาอีกครั้ง
กร๊าฟแท่งเทียนจึงนำมาช่วยตัดสินใจในการซื้อขายได้ แต่ใช้เพียงแค่แท่งเทียนแท่งเดียวมาตัดสินจุดเข้าซื้อ หรือขายคงอันตรายเกินไป ตามภาพการตัดสินใจควรดูพฤติกรรมของคนหมู่มากในตลาดให้ชัดแล้วตามไปน่าจะปลอดภัยกว่า
ครั้งหน้าจะใช้กร๊าฟแท่งเทียน และเครื่องมือทางเทคนิคอื่นมาช่วยทำให้การเข้าซื้อหรือขายเกิดความมั่นใจมากขึ้น
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)