ในตอนที่แล้วได้รู้จักว่าในช่วงการเคลื่อนไหวของราคาแต่ละครั้งนั้นมีแรงเหวี่ยงของราคา หรือกำลังในการเคลื่อนไหวแตกต่างกัน ทำให้ต้องกำหนดกลยุทธ์ในการเทรดต่างกันไป
อาจใช้ในการจับจุดเริ่มเทรนใหม่ (เตือนว่าจบเทรนเก่า) เมื่อกำลังอ่อนแรงลง และราคาเปลี่ยนเทรนเป็น sideway อาจใช้ข่าวรวมกับพื้นฐานบริษัท หรือเมื่อราคาเลือกทาง (ทำนิยามว่ามีเทรนใหม่) ในการยืนยันอีกครั้งว่าจะเริ่มเทรนใหม่จริง ๆ
จะเห็นว่าส่วนเปลี่ยนแปลงของราคาลดลง และ volume ลดลงด้วยเช่นกัน แปลว่าความคาดหวังในราคาหุ้นตัวนี้เริ่มไม่ยอมรับราคาที่ต่ำกว่านี้ แรงขายจึงเริ่มลดลง และกำลังทางขายที่ส่งให้ราคาลงไปอีกตกลง ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรส่งให้หุ้นตัวนี้แย่ลงไปอีกเช่น ผลประกอบการตกลง งานในมือหลุดมือไป ราคาก็จะออก sideway ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีการเลือกทางของคนส่วนมาก
แล้วต่อมาก็มีการเลือกทางจากคนส่วนมากในกรณีหุ้นตัวนี้มาจากข่าวที่เค้าลงทุนในกิจการพลังงานทดแทนจาก solar และ ลม ทำให้ความคาดหวังจากคนส่วนมากกลับมาเป็นบวก และดันราคากลับขึ้นมาเป็นแนวโน้มขาขึ้นได้ จะเห็นว่าแรงเหวี่ยงของราคามีมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของราคา และ volume ที่เพิ่มขึ้น ตอนที่มีแรงเหวี่ยงเพิ่มขึ้นนี้เราอาจเลือกหาจังหวะเข้าซื้อกลางแนวโน้มเพิ่มได้ เพราะกำลังที่มากขึ้นช่วยยืนยันว่าแนวโน้มขาขึ้นนี้ยังแข็งแรงอยู่
หรือในขณะ sideway เราก็ยังใช้แรงเหวี่ยงของราคาทำประโยชน์ได้ด้วย เพราะหลังจากแรงเหวี่ยงของราคาตามแนวโน้มตกลง ราคามักจะเป็น sideway และเหวี่ยงในกรอบพักหนึ่งก่อนเลือกทางใหม่ เราก็สามารถสังเกตแรงเหวี่ยงราคาในจุดไปที่ขอบของกรอบราคา sideway แล้วดูกำลังของแท่งเทียนได้ว่ามีการกลับตัวของกำลังหรือไม่
เมื่อกำลังทางบวกกลับมาชนะในจุดที่เป็นขอบราคา เราก็สามารถเล่นเป็นรอบ ๆ ตามการกลับตัวได้
การดูกำลังเราก็มีเครื่องมือมาช่วยดูได้ด้วย ต่อกันตอนหน้าครับ
ขอให้ผู้เรียนรู้ พยายาม สำเร็จอย่างที่หวัง
Mee?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น